อยากรู้ว่าต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่?


฿




%




ปี


เงินผ่อนต่อเดือน     - บาท
รายได้ขั้นต่ำ     - บาท

*ผลจากการคำนวณเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ

อยากรู้ว่าสามารถกู้ได้กี่บาท ?


฿




ปี




%


อัตราผ่อนต่อเดือน

    - บาท

วงเงินที่กู้ได้

    - บาท

*อัตราผ่อนต่อเดือน คือ 35% ของรายได้ต่อเดือน

*ผลจากการคำนวณเป็นเพียงตัวเลขประมาณการ

เอกสารการขอกู้สินเชื่อ

หลักฐานสำคัญที่ใข้ในการขอสินเชื่อและโอนกรรมสิทธิ์ ดังนี้

เอกสาร กู้ธนาคาร เงินสด
สำเนาบัตรประชาชน-ทะเบียนบ้านของผู้กู้
(ทั้งเล่ม/ทุกแผ่น )
7 ชุด 7 ชุด
สำเนาบัตรประชาชน-ทะเบียนบ้านของคู่สมรส(ถ้ามี) 7 ชุด 7 ชุด
สำเนาทะเบียนสมรส หรือใบหย่า (ถ้ามี) หรือใบมรณะบัตรคู่สมรส 7 ชุด7 ชุด
สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) 7 ชุด 7 ชุด
ใบรับรองเงินเดือน พร้อมสลิปเงินเดือน เดือนสุดท้าย (ฉบับจริง) 7 ชุด 7 ชุด
สำเนาทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์ (ในกรณีประกอบธุรกิจส่วนตัว) และรูปถ่ายกิจการและสำเนาบัญชีกระแสรายวันย้อนหลัง 6 เดือน 7 ชุด7 ชุด
สำเนาบัญชีธนาคาร(ย้อนหลัง 6 เดือนจากปัจจุบัน)หรือถ่ายทุกๆ หน้ารวมหน้าบัญชีปัจจุบัน ทุก ๆ เล่มที่มี 7 ชุด7 ชุด
สำเนาสัญญาซื้อขาย และใบเสร็จงวดดาวน์ทุกงวด 7 ชุด7 ชุด
สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี7 ชุด 7 ชุด

ขั้นตอนการขอสินเชื่อ

  1. เตรียมเอกสารให้ครบ ตามที่เจ้าหน้าที่มีจดหมายแจ้งให้ท่านทราบ
  2. ผู้กู้และ/หรือผู้ร่วมกู้ทุกคนต้องไปทำเรื่องขอกู้ เนื่องจากต้องไปกรอกใบคำขอสินเชื่อ ตามแบบฟอร์มของธนาคาร และต้องลงลายมือชื่อทุกคน
  3. เงื่อนไขการกู้ ขึ้นอยู่กับระเบียบและกฏเกณฑ์ของธนาคารนั้น ๆ โดยแต่ละธนาคาร มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน

การขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ทั่วไป

โดยทั่วไป ธนาคารพาณิชย์มีวงเงินปล่อยกู้สูงสุดสำหรับลูกค้าประมาณ 90–95% ของราคาขายบ้าน และใช้วิธีคำนวณความสามารถในการผ่อนต่อเดือนแยกตามประเภทรายได้ ของผู้กู้ดังนี้

  1. 1. รายได้จากเงินเดือนประจำ

    พิจารณารายได้จากเงินเดือนรับสุทธิหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายครอบครัวหักผ่อนหนี้ต่างๆ ที่ปรากฏในเครดิตบูโรและ

    การค้ำประกันหนี้ x40% = ความสามารถในการผ่อนต่อเดือน

    เช่นเงินเดือนรับสุทธิเดือนละ 30,000 บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วเหลือสุทธิเดือนละ 20,000 บาท ดังนั้นความสามารถในการผ่อนต่อเดือน = 20,000 x 40%= 8,000 บาท ซึ่งธนาคารจะพิจารณาว่าสามารถกู้ได้วงเงินเท่าใด

  2. 2. รายได้จากอาชีพอิสระ

    หากท่านไม่มีเอกสารการเงินที่ชัดเจนหรือมีรายได้ไม่สม่ำเสมอติดต่อกันถึง 3 เดือน จะทำการขอสินเชื่อได้ค่อนข้างยาก โดยธนาคารจะพิจารณาจาก ความมั่นคงของบริษัท ประกอบกับอายุงานและ Slip รายได้ เช่น อาชีพขายประกัน พนักงานขายที่รายได้ส่วนใหญ่ มาจากค่าคอมมิชชั่นโดยความสามารถในการผ่อนต่อเดือน จะคำนวณจาก

    จากยอดรายได้สุทธิเฉลี่ย 6-12 เดือนย้อนหลัง 1 x 30-40%2
    หักค่าใช้จ่ายครอบครัว ประจำเดือนหักผ่อนหนี้ต่างๆ ที่ปรากฏในเครดิตบูโร3
    และ/หรือการค้ำประกันหนี้ x 40% = ความสามารถในการผ่อนต่อเดือน
    1. นับถึงวันยื่นกู้
    2. เนื่องจากธนาคารคิดรายได้จากอาชีพอิสระให้เพียง 30-40%
    3. ดูหัวข้อ การตรวจสอบเครดิตบูโรประกอบ

    เช่น ผู้กู้เป็นตัวแทน ประกันชีวิต มีรายได้เฉลี่ย 6 ถึง12 เดือนย้อนหลัง เดือนละ 50,000 บาท x 30-40% = รายได้ที่ธนาคารจะนำมาคำนวณจริง = 15,000-20,000บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วเหลือ สุทธิเดือนละ 12,000 บาทดังนั้นความสามารถในการผ่อนต่อเดือน = 12,000 x 40% = 4,800 บาท ซึ่งธนาคารจะพิจารณาว่าสามารถกู้ได้วงเงินเท่าใด

  3. 3. รายได้จากธุรกิจส่วนตัว

    พิจารณารายได้จาก

    ยอดขาย x กำไร 10–30%1 หักค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายครอบครัว
    หักผ่อนหนี้ต่างๆที่ปรากฏในเครดิตบูโร
    และการค้ำประกันหนี้ x 40% = ความสามารถในการผ่อนต่อเดือน
    * แล้วแต่ประเภทธุรกิจ

    เช่นยอดขายเดือนละ 500,000 บาท x กำไร 20% = 100,000 บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วเหลือสุทธิเดือนละ 80,000 บาท ดังนั้นความสามารถในการผ่อนต่อเดือน = 80,000x40% ได้ 32,000 บาท ซึ่งธนาคารจะพิจารณาว่าสามารถกู้ได้วงเงินเท่าใด

แบบที่2 การขอสินเชื่อจากธนาคารอาคารสงเคราะห์

พิจารณารายได้ของผู้กู้จากรายได้สุทธิ หัก ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายครอบครัวหักผ่อนหนี้ต่างๆ ที่ปรากฏในเครดิตบูโรและการค้ำประกัน หนี้ ดังต่อไปนี้

  1. 1. ลูกค้าทั่วไป

    วงเงินกู้ = 25 -35เท่า x รายได้สุทธิ1 (ทั้งนี้วงเงินกู้ต้องไม่เกิน 90% ของราคาประเมินบ้าน)
    1. ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคาร

    * ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานนั้นๆมีสวัสดิการกับธอส.ในเงื่อนกู้ได้ 90% หรือ 100% (ผู้กู้ต้องสอบถาม ต้นสังกัดเอง) และต้องขอหนังสืออนุมัติผ่านสิทธิดังกล่าวจากต้นสังกัดมาประกอบการกู้ด้วย

  2. 2. ลูกค้าที่สังกัดหน่วยงานที่มีสวัสดิการกับธอส.

    วงเงินกู้ = 50เท่า x รายได้สุทธิ1
    ทั้งนี้วงเงินกู้ต้องไม่เกิน 90% ถึง 100% ของราคาประเมินบ้าน
    1. ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ของธนาคาร

    * ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานนั้นๆมีสวัสดิการกับธอส.ในเงื่อนกู้ได้ 90% หรือ 100% (ผู้กู้ต้องสอบถาม ต้นสังกัดเอง) และต้องขอหนังสืออนุมัติผ่านสิทธิดังกล่าวจากต้นสังกัดมาประกอบการกู้ด้วย

  3. 3. ลูกค้าที่ต้องการใช้สวัสดิการกู้จากหน่วยงานโดยตรง

    สามารถจะติดต่อขอรับเอกสารประกอบ การขอสินเชื่อ จากฝ่ายสินเชื่อ ซึ่งประกอบด้วย

    • สำเนาโฉนด
    • สำเนาเลขที่บ้าน
    • หนังสือมอบอำนาจขอราคาประเมิน
    • ผังแปลงคง(ผังรวมของโครงการที่ปรากฏเลขที่ของที่ดิน)
    • แบบแปลนบ้านและอื่นๆ ตามที่หน่วยงานนั้นต้องการ

เอกสารสำคัญประกอบการกู้

เอกสาร กู้ธนาคาร เงินสด
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน – ทะเบียนบ้านของผู้กู้ทุกเล่มที่มี (ทั้งเล่ม) 5 ชุด4 ชุด
สำเนาบัตรประชาชน-ทะเบียนบ้านของคู่สมรส (ถ้ามี) 5 ชุด 4 ชุด
สำเนาทะเบียนสมรส หรือใบหย่า(ถ้ามี) หรือใบมรณะบัตรคู่สมรส (ถ้ามี) 5 ชุด 4 ชุด
สำเนาการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) 5 ชุด 4 ชุด
ใบรับรองเงินเดือน พร้อมสลิปเงินเดือนฉบับจริง (เดือนสุดท้าย) 1 ชุด -
สำเนาทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์(ในกรณีที่ประกอบ ธุรกิจส่วนตัว) รูปถ่ายกิจการและสำเนาบัญชีกระแสรายวันย้อนหลัง 6 เดือน 1 ชุด -
สำเนาบัญชีธนาคาร(ย้อนหลัง 6 เดือนจากปัจจุบัน) ทุกๆ หน้า (ถ้ามีหลายบัญชีให้สำเนาทุกบัญชีที่มี) 1 ชุด -
สำเนาสัญญาซื้อขาย สำเนาใบเสร็จเงินจอง – เงินทำสัญญา และใบเสร็จงวดดาวน์ทุกงวดที่ชำระมาแล้ว 1 ชุด -

การตรวจสอบเครดิตบรูโร

ทุกธนาคารจะทำการตรวจสอบข้อมูลเครดิตของลูกค้าก่อนจะพิจารณาอนุมัติวงเงินกู้ ซึ่งจะตรวจสอบประวัติ การกู้ หรือหนี้เสียของลูกค้า โดยละเอียดในเรื่องต่างๆ เหล่านี้

  • หนี้ค้างชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพท์
  • หนี้ค่าผ่อนชำระสินค้าต่างๆ ผ่อนรถยนต์ ผ่อนบ้าน
  • ประวัติการถูกฟ้องร้องคดีแพ่ง ล้มละลาย ค้ำประกัน หรือบังคับชำระหนี้อื่นๆ ทุกประเภท

ข้อแนะนำอื่นๆ ที่ควรทราบ

  1. ต้องไม่ได้ยื่นกู้ซื้อบ้านอื่นอยู่ (กู้เองหรือกู้ร่วมกับผู้อื่น) หากมีภาระหนี้ดังกล่าว แล้วธนาคารจะนำค่างวดดังกล่าวมาหักจากรายได้ ทำให้รายได้สุทธิลดลงหรือไม่พอ การกู้อาจมีปัญหาหรือกู้ได้น้อยลง
  2. ไม่เคยมีหนี้ค้างชำระ เช่น หนี้ค่าโทรศัพท์ น้ำ ไฟฟ้า ผ่อนรถยนต์ ผ่อนสินค้าต่างๆ หรือค้ำประกันหนี้
  3. ไม่เคยถูกดำเนินคดีแพ่งหรือล้มละลายมาก่อน
  4. หากจดทะเบียนสมรส ต้องมีคู่สมรสมาเซ็นให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมต่อธนาคารด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้น เช่น แยกกันอยู่ หรือหาตัวไม่เจอ เว้นแต่หย่าขาดกันแล้ว โดยแสดงทะเบียนหย่า
  5. ผู้กู้ต้องยื่นหลักฐานการฝากเงิน (บัญชีออมทรัพย์) หรือหลักฐานการออมเงินผ่านประเภทบัญชีต่างๆติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับถึงวันยื่นกู้ธนาคาร โดยต้องมีเงินฝากคงเหลือในบัญชีพอสมควรเพื่อยืนยันความสามารถในการชำระหนี้ได้
  6. ผู้กู้ต้องชำระเงินดาวน์ให้สม่ำเสมอตามกำหนด เนื่องจากธนาคารจะให้ข้อมูลการผ่อนดาวน์ มาประกอบการพิจารณากู้ด้วย